เมนู

อรรถกถานิสสยสูตรที่ 2


นิสสยสูตรที่ 2

มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า นิสฺสยสมฺปนฺโน ได้แก่ ภิกษุเป็นผู้ถึงพร้อมด้วย
ที่พึ่ง. บทว่า สทฺธํ ได้แก่ ศรัทธาเหตุสำเร็จ. บทว่า วิริยํ ได้แก่
ความเพียรทางกายและทางใจ. บทว่า ยํส ตัดบทเป็น ยํ อสฺส.
บทว่า อริยาย ปญฺญาย ได้แก่ มรรคปัญญากับวิปัสสนา. บทว่า
สงฺขาย ได้แก่ รู้แล้ว. บทว่า เอกํ ปฏิเสวติ ได้แก่ ย่อมเสพของที่
ควรเสพ. บทว่า อธิวาเสติ ได้แก่ ย่อมอดกลั้นของที่ควรอดกลั้น.
บทว่า ปริวชฺเชติ ได้แก่ ย่อมเว้นของที่ควรเว้น. บทว่า วิโนเทติ
ได้แก่ ย่อมนำของที่ควรนำออกไป. บทว่า เอวํ โข ภิกฺขุ ความว่า
ดูก่อนภิกษุ ด้วยเหตุอย่างนี้แล ภิกษุทำการเสพให้เข้าใจตลอด
ประจักษ์ชัดดีได้ก็ด้วยอำนาจการเรียนและการสอบถาม. และ
ด้วยอำนาจการกำหนดธรรม เสพ อดกลั้น เว้น และบรรเทาอยู่
ชื่อว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยที่พึ่ง ด้วยประการฉะนี้.
จบ อรรถกถานิสสยสูตรที่ 2

3. เมฆิยสูตร


ว่าด้วยอกุศลวิตกและธรรมสำหรับแก้


[207] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ จาลิก-
บรรพต ใกล้เมืองจาลิกา ก็โดยสมัยนั้นแล ท่านพระเมฆิยะเป็น
อุปัฏฐากพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้งนั้นแลท่านพระเมฆิยะเข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วยืนอยู่ ณ ที่ควร
ส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ข้าแต่พระองค์ปรารถนาจะเข้าไปบิณฑบาตในชันตุคาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนเมฆิยะ เธอจะสำคัญกาลที่ควร
ในบัดนี้.
ครั้งนั้นแล เป็นเวลาเช้า ท่านพระเมฆิยะครองอันตรวาสก
แล้ว ถือบาตรและจีวร เข้าไปบิณฑบาตยังชันตุคาม ครั้นเที่ยว
บิณฑิบาตในชันตุคามเสร็จแล้ว กลับจากบิณฑบาตในเวลาภาย
หลังภัต เข้าไปยังฝั่งแม่น้ำกิมิกาฬา ท่านพระเมฆิยะเดินเที่ยว
พักผ่อนอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำกิมิกาฬา ได้เห็นอัมพวันอันน่าเลื่อมใส น่า
รื่นรมย์ ครั้นเห็นแล้ว ได้มีความคิดดังนี้ว่า อัมพวันนี้ช่างน่าเลื่อมใส
น่ารื่นรมย์หนอ ควรเพื่อบำเพ็ญเพียรของกุลบุตรผู้ต้องการความ
เพียร ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าพึงอนุญาตเรา เราพึงมายังอัมพวันนี้
เพื่อบำเพ็ญเพียร ครั้งนั้นแล ท่านพระเมฆิยะเข้าไปเฝ้าพระผู้มี-
พระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ